เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบัตรสมาร์ทการ์ด
บัตรแถบแม่เหล็ก |
บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic) เป็นเทคโนโลยีไอดีอัตโนมัติ
(Automatic Identification) ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่สุด ได้แก่
บัตรเครดิต บัตรเครื่องถอนเงินด่วน (ATM) เป็นต้น
การใช้งานต้องรูดบัตรกับหัวอ่าน หัวอ่านมีราคาถูก แต่มีความสึกหรอจากการรูดบัตร
และบัตรอาจถูกทำสำเนาได้ บัตรที่ทำด้วยกระดาษมีราคาถูกมาก
ซึ่งถูกนำมาใช้งานในระบบขนส่งมวลชนที่ต้องการให้มีต้นทุนของบัตรโดยสารต่ำ
เทคโนโลยีบัตรแถบแม่เหล็กถูกนำมาใช้เป็นกุญแจบัตร
(Key Card) ที่ใช้สำหรับระบบกลอนประตูอิเล็กทรอนิกส์ในยุคแรก
ได้มีการนำมาใช้เป็นบัตรประจำตัวพนักงานและใช้สำหรับบันทึกเวลาเข้า-ออกงานด้วย
ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้กำลังจะล้าสมัย
เนื่องจากมีข้อด้อยในด้านความปลอดภัยข้อข้อมูล ข้อมูลมีการสูญหายจากสัญญาณรบกวนได้
และไม่รองรับความต้องการต่างๆที่เพิ่มขึ้นได้ดี
บัตรสมาร์ทการ์ด ชนิดไม่สัมผัสกับหัวอ่าน (Contactless) |
บัตรสมาร์ทการ์ด ชนิดไม่สัมผัสกับหัวอ่าน (Contactless)
เป็นแบบบัตรพร็อกซิมิตี้คือหัวอ่านบัตรสามารถอ่านบัตรในระยะห่างได้
มีระยะอ่านบัตรได้ไกลขึ้นและมีความสามารถอื่นๆมากขึ้น
บัตรสมาร์ทการ์ดประเภทนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น มีความปลอดภัยมาก
การทำสำเนาบัตรทำไม่ได้ สามารถเก็บข้อมูลได้บนบัตรสำหรับการใช้งานที่จำเพาะ บัตรสมาร์ทการ์ดมีหลายประเภท
ส่วนหนึ่งได้ถูกรับรองให้เป็นมาตรฐาน ISO เช่น ISO 14443
Type A (Mifare) เป็นต้น ซึ่งทำให้มีผู้จำหน่ายเป็นจำนวนมาก
ไม่เกิดการผูกขาด และเป็นผลให้มีราคาถูกลงเรื่อยๆ
ราคาของบัตรขึ้นกับความจุข้อมูลบนบัตรและความสามารถอื่นๆของบัตร
บัตรพร็อกซิมิตี้ (Proximity) |
บัตรพร็อกซิมิตี้ (Proximity) หัวอ่านบัตรสามารถอ่านบัตรในระยะห่าง
2-5 ซม.ได้ หัวอ่านไม่มีการสึกหรอ ผู้ใช้เพียงทาบบัตรใกล้กับหัวอ่าน
จึงเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งานของผู้ใช้ บัตรมีหลายชนิดตามบริษัทผู้ผลิต
ไม่สามารถเก็บข้อมูลไว้บนบัตรได้ มีทั้งที่เป็นเทคโนโลยีปิดที่มีความปลอดภัยสูงขึ้น
(แต่มีการผูกขาดจากผู้จำหน่ายราย/ยี่ห้อเดียว) ส่วนที่เป็นเทคโนโลยีเปิด (EM
Card) ราคาถูกกว่าเนื่องจากมีผู้ผลิตได้หลายราย
ซึ่งอาจมีการทำสำเนาบัตรได้
บัตรชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม RFID (Radio
Frenquency Identification) ภายในบัตรพลาสติกมีชิปอิเล็กทรอนิกส์และเสาอากาศบรรจุอยู่ซึ่งได้รับพลังงานจากหัวอ่านบัตร
ทำงานที่ย่านความถี่ 125 KHz ซึ่งมีใช้กันแพร่หลายมาเป็นเวลานาน
และมีผู้ผลิตเลียนแบบเป็นจำนวนมาก
ส่วนใหญ่เป็นบัตรที่มีข้อมูลสำหรับอ่านเพียงอย่างเดียว (Read-Only) ได้มีการใช้ความถี่ในย่านที่สูงขึ้นคือ
13.56 MHz เพื่อเพิ่มจำนวนข้อมูลและความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูล
มีผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบผ่านเข้าออกประตูที่นำบัตรพร็อกซิมิตในย่านความถี่ 13.56
MHz ที่เป็นเทคโนโลยีปิดมาจำหน่าย แต่ยังไม่ได้รับรองให้เป็นมาตรฐานสากล
ส่วนใหญ่บัตรประเภทนี้จะใช้งานภายในองค์กร (Closed-Loop) ไม่มีการทำงานร่วมกันกับภายนอก
มีผู้ผลิตบัตรพิเศษที่ผสมระหว่างบัตรแถบแม่เหล็กและบัตรพร็อกซิมิตี้เพื่อไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์เก่าในระบบทั้งหมด
และยังมีการทำบัตร (ป้าย) ให้อยู่ในรูปพวงกุญแจด้วย
บัตรสมาร์ทการ์ด ชนิดสัมผัสกับหัวอ่าน (Contact) |
บัตรสมาร์ทการ์ด ชนิดสัมผัสกับหัวอ่าน (Contact)
มีความสามารถเหมือนบัตรสมาร์ทการ์ดข้างต้น
แต่การใช้งานต้องเสียบบัตรเข้ากับหัวอ่าน
ซึ่งทำให้มีขั้นตอนที่เสียเวลาเพิ่มขึ้น
จึงไม่เหมาะสมกับการใช้ผ่านเข้าออกที่ต้องการความรวดเร็ว
ข้อดีของบัตรชนิดนี้คือบัตรมีความจุข้อมูลที่มากขึ้น ราคาของบัตรขึ้นอยู่กับความสามารถและขนาดหน่วยความจำ
บัตรชนิดสัมผัสมีความสามารถอื่นๆได้มากกว่าบัตรชนิดไม่สัมผัส ได้แก่
ความสามารถในการป้องกันข้อมูลในแบบมาตรฐานกุญแจรหัส (Public Key
Infrastructure, PKI) ที่ให้ระดับความปลอดภัยในขั้นสูง
และสามารถบรรจุโปรแกรมประยุกต์ (Application) ลงในบัตรได้
เป็นต้น
เนื่องจากบัตรชนิดนี้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องแหล่งจ่ายพลังงานเหมือนบัตรชนิดไม่สัมผัส
จึงมีหน่วยความจำได้มากขึ้น
สามารถเก็บข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์เพื่อเรียกดูได้ทันที เช่น รูปถ่าย
ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลลายนิ้วมือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ การยืนยันตัวบุคคล (Authentication)
โดยใช้ข้อมูลต่างๆภายในบัตรจะเป็นมาตรฐานในการทำธุรกรรมทางด้านพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(E-Commerce) หัวอ่านบัตรมีราคาถูกและได้ถูกประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่
เพื่อใช้บัตรสมาร์ทการ์ดในการล็อกออน์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
กล่าวคือใช้แทนลายเซ็นนั่นเอง
บัตรประจำตัวประชาชนใหม่ของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยเป็นบัตรสมาร์ทการ์ดประเภทนี้
บัตรวิซินนิตี้ (Vicinity) |
บัตรวิซินนิตี้ (Vicinity) เป็นบัตรสามาร์ทการ์ดชนิดไม่สัมผัสกับหัวอ่าน
ระบบสามารถอ่านบัตรในระยะห่างถึง 3 เมตรได้ ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน ISO เช่นกัน
แต่บัตรและหัวอ่านยังมีราคาสูงมากอยู่
บัตรประเภทนี้มีข้อจำกัดในด้านหน่วยความจำบนบัตร
มักถูกนำมาใช้งานด้านไอดีอัตโนมัติ (Automatic Identification) ที่เป็นออน์ไลน์
(On-line) คือต้องทำการประมวลผลที่ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง
ซึ่งต่างจากบัตรสามาร์ทการ์ดข้างต้นที่รองรับงานที่เป็นออฟ์ไลน์ (Off-line)
ได้เป็นอย่างดี
ได้มีการพัฒนาให้รหัสสินค้าในรูปบาร์โค้ดมาตรฐาน
(Universal Product Code, UPC) มาอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Product Code, EPC) ซึ่งมีพื้นฐานจากเทคโนโลยีนี้ มีห้างสรรพสิ้นค้าในต่างประเทศที่ลูกค้าไม่ต้องหยิบสินค้าออกจากรถเข็น
แล้วเครื่องอ่านสามารถอ่านรหัสสินค้าทุกชิ้นเพื่อคำนวนราคาที่ได้ภายในเวลาเพียงเป็นวินาที
Cr.www.si.mahidol.ac.thสนใจติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ : taladcard
Facebook : Taladcard รับทำบัตรพลาสติก บัตรพนักงาน ดูข้อมูลเพิ่มเติม
Fan Page :Taladcard รับทำบัตรพลาสติก บัตรพนักงาน ข้อมูลเพิ่มเติม
Website: www.taladcard.com ดูข้อมูลเพิ่มเติม
โทรศัพท์ :081-374-5428
ไลน์ : noituenjai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น